เสวนา #UrbanVernaccular Talk Session 01 “ชุมขนช้างม่อย - "กลไกการอยู้ร่วมกัน จากชุมชนช้างม่อย”
สรุปประเด็น "กลไกการอยู่ร่วมกัน จากชุมชนวัดชมพูสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์" จากการเสวนา #UrbanVernaccular Talk Session 01 “ชุมขนช้างม่อย” ส่วนหนึ่งของวิจัย Chiang Mai Learning City “เรียนรู้เมืองผ่านผู้คนและพื้นที่” จากผู้ขับเคลื่อนไหวโครงการในช้างม่อยในปัจจุบัน ชวนเสวนาและผู้วิจัยในพื้นที่ - ภูวา (ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา) ภายในงานมีแขกรับเชิญจากทีมวิจัย หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ บุคคลที่สนใจในย่านช้างม่อย และสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 เวลา 10:00-11:30น. ณ เจดีย์หนองล่ม ชุมชนช้างม่อย . . ประเด็น "พื้นที่เมืองและกลุ่มคนในย่านที่เปลี่ยนแปลง" ภูมิทัศน์ของชุมชนเดิม สมัยคุณลดาจำความได้ พ.ศ.2504 ช้างม่อยคือชุมชนที่มีละแวกบ้านอุปถัมภ์วัดชมพู หมู่บ้านไม้ตามถนนช้างม่อยเก่าและสิทธิวงศ์ โดยมีคลองแม่ข่าเป็นลำคลองที่คนมนพื้นที่ใช้ชีวิต พักผ่อน หาปลา หาไข่เป็ด จนกระทั่งช้างม่อยเริ่มพัฒนากลายเป็นถนนเชื่อมกาดหลวง เศรษฐกิจการท่องเที่ยวและพักผ่อน ทำให้เกิดธุรกิจต่างๆในย่าน ตะก่อนคนช้างม่อยช่วยกันดูแลย่าน ไม่ว่าจะคนอยู่หรือคนขาย ต่างเกื้อกูลกัน ทำธุรกิจที่สนับสนุนกัน มีกลไกของการจัดการชุมชนของตัวเองโดยมีวัดชมพูเป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ ในช่วงปีพ.ศ. 2514-2538 จากนั้น อ.จิรันธนิน ได้กล่าวเสริมว่า การพัฒนาเมืองในย่านช้างม่อย-สิทธิวงศ์นี้ เน้นการขนส่งและพัฒนาเมืองสมัยใหม่ ทำให้เครือข่ายชุมชนเดิมถูกผิดล้อมด้วยถนนใหม่ที่เป็นถนนเพื่อรถสัญจร ทำให้ย่านนี้เริ่มถูกทำให้มีลักษณะปิดมืด อีกทั้งการทำให้เกิดการสัญจรเลนเดียว ทำให้ช้างม่อยถูกทำให้เป็นทางผ่าน ในปัจจุบันช้างม่อยมีประวัติศาสตร์มากมาย จนกระทั่งคนเก่าและคนใหม่ย้ายเข้าย้ายออก คุณกันต์กวี เทศบาลนครเชียงใหม่กล่าวเสริมว่า การสร้างความร่วมมือระหว่างคนเก่าและคนรุ่นใหม่คือสิ่งสำคัญ ซึ่งเทศบาลอยากจะเป็นประตูเชื่อม ผ่านกิจกรรมต่างๆของเมือง อ.จิรันธนิน กล่าวว่า กลไกของชุมชนคือการสร้างความสัมพันธ์ของคนในย่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น เราต้องยกระดับความสัมพันธ์ของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมทั้งบนพื้นที่ทางสังคมเก่าและใหม่ เพื่อให้เกิดกลไกร่วมสมัย อาทิ ภูมิทัศน์ชุมชนเก่าที่หายไปคือ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมชุมชนหัววัด แกนทางเข้าวัดชมพูทางทิศเหนือ ภูมิทัศน์เมืองเก่า แนวถนนช้างม่อยเก่าและลำคลองแม่ข่า กำแพงดินประตูช้างม่อย ภูมิทัศน์เมืองเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใหม่ จึงจะทำให้ย่านนี้เป็นเมืองแหางการเรียนรู้ได้ . . ประเด็น "ภูมิทัศน์เมืองและการรับรู้ย่านของผู้คน" คุณวิน ผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม east each ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตในย่าน และกลับมาเปิดธุรกิจร้านอาหาร mitte mitte เล่าให้ฟังว่า ปัญหาของผู้ประกอบการในย่านนี้คือ การบอกเส้นทาง เพราะถนนภายในย่านชุมชนนี้ อาทิ ถนนช้างม่อยเก่า ถนนสิทธิวงศ์ ถนนชัยภูมิซอย 1-4 ต่างไม่ถูกทำให้สัญจรผ่านมานาน จนทำให้ผู้คนไม่รู้จัก อีกทั้งความทรงจำของคนในย่านก็แตกต่างกันตามยุคสมัย จึงทำให้เรียกถนนและตำแหน่งต่างๆ ในย่านตามความทรงจำของตัวเอง โครงการ east each จึงอยากจะสร้างป้ายบอกทาง เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมโยงของย่าน และการรับรู้ของคนเมืองทั้งการเดินและการสัญจรด้วยถนน ซึ่งเน้นไปที่กระบวนการสะสมความทรงจำของคนในย่านทั้ง ผู้คนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และคนมาเที่ยว ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยกลไกขับเคลื่อนภาคประชาคมเมือง อ.สันต์กล่าวเสริมว่า การรับรู้ของคนกับพื้นที่ช้างม่อยนั้น แตกต่างกันมากๆ เนื่องจากถนนช้างม่อยในปัจจุบัน เป็นถนนที่มีภาพอาคารตึกแถวรูปแบบสมัยใหม่ ทำให้คนเมืองไม่เข้าใจถึงถนนช้างม่อยสายเก่า ที่มีความเป็นชุมชนที่ซ่อนอยู่ในเมือง อ.จิรันธนิน เสริมถึงประเด็นพื้นที่ทางสังคมของย่านช้างม่อย เนื่องจากการเปลี่ยนย้ายของผู้คนในแต่ละช่วงเวลา สัมพันธ์กับการพัฒนาเมืองอย่างยิ่ง ดังนั้นการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของย่าน ผ่านพื้นที่เมืองที่ปรากฏรองร่อยของกลุ่มทางสังคมในอดีต-ปัจจุบัน อาทิ กลุ่มช่างและหัตถศิลป์เก่าในบ้านเก่าทั้ง บ้านตุงสามหาง ร้านตีเหล็กศุขโข กลุ่มบ้านเดี่ยวและตึกแถวในชุมชนถนนช้างม่อยเก่า-สิทธิวงศ์ ที่อุปถัมภ์วัดหนองคำ วัดชมพู และวัดชัยศรีภูมิ รวมไปถึงกลุ่มตึกแถวพาณิชย์พักอาศัยตามแนวถนนช้างม่อยใหม่ด้วย . . ประเด็น "ความร่วมมือระหว่างคนเก่าและใหม่ในย่าน" คุณเวฟ และทาง TCDC Chiang Mai ได้ทำโครงการ “เมด อิน ช้างม่อย” (Made in Chang Moi) เป็นการนำเอาผู้ประกอบการท้องถิ่น 10 ร้านมาร่วมคิดและยกระดับการค้าร่วมกับ 10 นักออกแบบรุ่นใหม่ โดยมีความตั้งใจที่จะให้ย่านมีลักษณะการค้าที่เฉพาะตัวขึ้น โดยสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเมืองด้วย ซึ่งการแลกเปลี่ยนนี้ทำให้ร้านค้าเดิมต่างปรับตัวเองให้เข้ากับแนวทางเศรษฐกิจใหม่ ทั้งในประเด็นการปรับตัวไปกับการท่องเที่ยวใหม่แบบ hopping, Digital disruption และ COVID-19 pandemic คุณลดากล่าวเสริมว่า คนรุ่นใหม่ และกผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเวฟ ที่มีความผูกพันกับย่าน เป็นตัวละครสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชน ยกตัวอย่างจากงานกวนข้าวทิพย์ในคืนก่อนวันยี่เป็ง ที่เป็นประเพณีของคนในช้างม่อยที่วัดชมพู เนื่องจากแรงงานของคนหนุ่มสาวในชุมชนลดน้อยลงมากๆ การมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่มาเป็นแรงเสริมกิจกรรมชุมชน ก็จะเป็นการสร้างกลไกและการขับเคลื่อนเมืองต่อไป อ.จิรันธนินกล่าวปิดท้าย ช้างม่อยไม่ใช่ย่านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมทั้ง มิติเมืองประวัติศาสตร์ มิติสังคมและวัฒนธรรมเดิม รวมไปถึงมิตอการค้าและเศรษฐกิจร่วมสมัย ดังนั้นเมืองแห่งการเรียนรู้ จะถูกอธิบายความเข้าใจในมิติเหล่านี้ได้ ต้องอาศัยการอธิบายข้อมูลของย่านทั้งในรูปแบบประวัติศาสตร์การพัฒนาเมือง และการเปลี่ยนย้ายของผู้คน ในการปิดเสวนา ทางวิจัยได้จัดเลี้ยงชุดข้าวหมูปั้นไข่ควำ ของร้านข้าวป้าดา ซึ่งเป็น 1 ใน 10 โครงการเมดอินช้างม่อยที่ป้าดาทำงานร่วมกับสตูดิโอภูวา
Comentarios