top of page

#studiophuwa presents "architecture in disruption age" at CMDW2020


#studiophuwa presents 4 new design from our studio; (1) furniture for online learning การออกแบบเฟอร์นิเจอร์เพื่อความก้ำกึ่งของพื้นที่ในสภาวะ online classroom + work from home #digitaldisruption (2) street art liberation สาธารณะสมบัติและศิลปะเพื่อสาธารณะ ถ่ายทอดผ่านเนวคิดบนศิลปะท้องถนน #streetart (3) BLUE'S ISSUE - architecture in city conservation การออกแบบสถาปัตยกรรมท่ามกลางบริบทจินตภาพเมืองอนุรักษ์ (4) NATION OF US - Installation space การออกแบบติดตั้งพื้นที่เพื่อการตั้งคำถามกับการเคลื่อนไหวทางสังคม เกี่ยวกับเราและชาติ at CMDW2020 during 2020 DEC5-13 เทศกาลออกแบบเชียงใหม่ 2020 more info: instagram.com/studiophuwa ——————————————— Architecture in Disruption age - สถาปัตยกรรมยุคสมัยแห่งการดิสรัป ดิสรัปชั่น เป็นการปั่นปวนหรือก่อกวน ซึ่งในผลงานชุดนี้หมายถึง การปั่นปวนของระบบเดิม การก่อกวนของโครงสร้างเก่า ซึ่งรูปแบบของการดิสรัปที่ชัดเจนที่สุดคือ การดิสรัปผ่านระบบดิจิตอล เมื่อระบบอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชั่นบนมือถือเป็นการสร้างโครงข่ายและข้อมูล ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมมากมาย สถาปัตยกรรมที่เป็นศาสตร์ของการออกแบบพื้นที่กับผู้คน จึงถูกก่อกวนและปั่นป่วนไปด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้ ผลงานชุดนี้ ผมดร.จิรันธนิน กิติกา และทีมน.ศ. ตั้งคำถามผ่านงานออกแบบเชิงสถาปัตย์ใน 4 ระดับ 4 ประเด็นดังนี้ A_chair - ความก้ำกึ่งของการใช้งาน จากดิจิตอลดิสรัปชั่น ทำให้ประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ต้องถูกนิยามให้ปรับเข้ากับความก้ำกึ่งรูปแบบชีวิตใหม่ๆ ทุกวันนี้การเรียนเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการผลิตซ้ำของชุดเก้าอี้เรียน เลคเชอร์คือการควบคุมร่างกายและประโยชน์ใช้สอยเพื่อการฟังและจดบันทึกเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันการเรียนออนไลน์ทำให้รูปแบบการเรียน เน้นไปที่การมีความร่วมผ่านสัมมนาผ่านวิดีโอ ความเป็นทางการและความน่าสบายถูกทำให้ก้ำกึ่งกัน จนนำไปสู่การออกแบบเชิงทดลองให้ใช้ร่วมกับการเรียนและพักผ่อน Street Art Libration - การปลดปล่อยศิลปะข้างถนน ศิลปะที่มีคุณค่า ไม่ใช่แค่งานของศิลปินที่เล่าเรื่องแบบเดียวกันกับรัฐ ศิลปะที่มีคุณค่า ไม่ใช่แค่ศิลปะที่ตั้งโชว์ในพิพิธภัณฑ์ ประเด็นเกี่ยวกับศิลปะข้างถนน (street art) ที่ตั้งคำถามการต่อรองกับพื้นที่แสดงศิลปะในเมือง การปลดปล่อยเนื้อหาของศิลปะ นำไปสู่การนำเอาวาทกรรมแง่ลบเกี่ยวกับศิลปะข้างถนน มาต่อรองกับเนื้อหาของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ BLUE’S ISSUE - สถาปัตยกรรม และการเมืองเรื่องสี จินตภาพเมืองอนุรักษ์ที่เป็นประเด็นในเมืองเชียงใหม่ จากกรณีการทาสีใหม่ของโรงแรมริมแม่น้ำปิง ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับภาพลักษณ์ของเมืองวัฒนธรรมของเชียงใหม่ ทำให้ ”สี” กลายเป็นตัวแทนของความไม่วัฒนธรรม ความไม่เชียงใหม่ แล้วอะไรคือสีของวัฒนธรรม และสีของเชียงใหม่กันแน่?! Nation of Us! เราคือชาติ ชาติ คืออะไร? จากกระบวนการทำซ้ำในสังคมและสถานศึกษา การนิยามความหมายของชาติถูกรัฐกำหนดให้จนกลายเป็นว่า “ผู้คน” (people) ไม่ได้ปรากฏอยู่ในนิยามของชาติ หากชาติเป็นเพื่อแค่อุดมการณ์ของรัฐที่ปราศจากคน การออกแบบชาตินั้นก็เป็นแค่งานตกแต่งที่มีไว้เพื่อความงามของรัฐและการบูชาของคนบางกลุ่มเท่านั้น ภูวา จิรันธนิน กิติกา studiophuwa

Comentarios


bottom of page