top of page

#TH3DIG1TALCRAFT8 PROJECT


โปรเจคออกแบบอาคารสาธารณะร่วมสมัยของ 10 น.ศ.ชั้นปีที่ 3 ในทีมผม (อ.ดร.จิรันธนิน กิติกา) จากการศึกษาสังคมร่วมสมัยใน #SocialNetwork Site ของแต่ละคน ไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงของโครงข่ายและกิจกรรม #Convergence ระหว่าง #Netizen และ #Local นำไปสู่ขั้นตอนการออกแบบจากบริบทและโครงข่ายเมืองเชียงใหม่ครับ โดยแบ่งน.ศ.ตามความสนใจร่วมเป็น 3 แนวทางการศึกษาและออกแบบ

แก็ป: เลือกโครงข่ายของสังคมผ่านแอป SHOPEE เพื่อสร้างพื้นที่การค้ารูปแบบใหม่บนพื้นที่สี่แยกมีโชค โดยอาศัยการเชื่อมต่อการสัญจรและชุมชนการค้าในพื้นที่มาเพื่อสร้างจุดรวมการค้าทั้งผู้ค้าออนไลน์และชุมชนในละแวะมีโชค

ตังนิง: สนใจการสร้างเพื่อนและนัดพบผ่านแอป Instagram นำไปสู่การสร้างพื้นที่การใข้งานรวมกันของน.ศ.หลากหลายมหาวิทยาลัยในเมืองเชียงใหม่ ด้วยแนวคิดการเป็นสวนการเรียนรู้ร่วมกัน

หมอก: เลือกการแสดงออกทางการเมืองบนพื้นที่ Facebook เพื่อสร้างพื้นที่แสดงออกร่วมกันของผุ้คนที่มีความคิดทางการเมืองร่วมกันบนถนนนิมมานเหมินทร์

มังงะ:ออกแบบโครงข่ายของนักท่องเที่ยวเจนเนอเรชั่นMe ผ่านการอัพภาพในInstagram เพื่อการสร้างประสบการณ์และภาพจากหมู่บ้านแม่แมะ เชียงใหม่ ด้วยแนวคิด Eco-freindly

เต็ม: ออกแบบโครงข่ายของคนเก็บตัวที่ชอบแชร์และเก็บข้อมูลเดียวกันผ่านการใข้ Twitter เพื่อสร้างห้องสมุดดิจิตอลที่หมุนเวียน เก็บและแสดงข้อมูลเชิงสังคมวิทยาบนบริบทเมืองเชียงใหม่

อัณ: ออกแบบโครงข่ายคนเมืองรักสุขภาพในพื้นที่ฟ้าฮ่าม ผ่านการ Review - Share ของกลุ่มเน็ตไอดอลใน Instagram

ต๊อกแต๊ก: สนใจการค้าโดยใช้ภาพใน Instagram จนนำไปสู่การออกแบบพื้นที่การค้าที่ต่อเนื่องจากภาพของย่านนิมมานเหมินทร์

ใจฟ้า: สนใจกิจกรรม Host & Experience จากการศึกษาแอป Airbnb นำไปสู่การออกแบบที่พักและตลาดที่มีอัตลักษณ์ของย่านเจริญเมืองเชียงใหม่

โนเกีย: สนใจการแสดงตัวตนที่มีลักษณะร่วมกันจากไลฟสไตล์ ผ่านจากใช้งาน Searching ของ Instagram นำไปสู่การออกแบบโฮมและสตูดิโอของนักออกแบบที่มีความกลมกลืนกับกลุ่มชุมชนร่ำเปิง

เจม: สนใจการเล่มเกมส์ออนไลน์และการแชร์Scoreและภาพบน Facebook โดยออกแบบพื้นที่ E-sport ที่ไม่ตัดขาดออกจากบริบทของชุมขนห้วยแก้ว

URBAN FABRIC TOWARDS SOCIAL #ARCHITECTURE 4.0 - สถาปัตยกรรมร่วมสมัยด้วยแนวคิดการทักทอเมืองจากพื้นที่ดิจิตอล


bottom of page