top of page

07.08.2563 | งานเสวนา "บ้าน-ร้าน-ย่าน-เมือง : ความเป็นย่าน กับการพัฒนาเมืองในอนาคต"

เสวนา “บ้าน ร้าน ย่าน เวียง”

ーーーーーーーーーー




ผมขอสรุปเนื้อหาที่คัดเลือกมาจากงานเสวนานะครับ เริ่มต้นที่ เสวนาครั้งนี้เป็นการพูดถึง พื้นที่ชุมชนเก่าในเมืองเชียงใหม่ ที่มีความเป็นย่านอันเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ทั้งในฐานะของการเป็นบ้านและร้าน กลไลทางวัฒนธรรม ของแต่ละชุมชนนั้น เป็นเครื่องมือในการอยู่ร่วมกัน และนำไปสู่ประเด็นของการออกเมืองร่วมกัน งานเสวนานี้พี่ตี๋ JaiBaan Studio ตั้งใจที่จะนำเสนอแนวคิด “สภาและผังย่าน” ที่ใช้เป็นกลไลในการขับเคลื่อน และให้คนทุกคนในย่านมีส่วนร่วมในการออกแบบย่านร่วมกัน อ.ปรานอม ได้พูดถึง ความเป็นย่าน จากเมืองที่มีชีวิต และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องคุณค่าเมืองทางประวัติศาสตร์ ซึ่งอ.สันต์ เสริมถึง การพัฒนาเมืองที่ทำให้อัตลักษณ์ของชุมชนนั้นสูญหายไป ซึ่งความเป็นย่านใน ตรอก ซอก ซอย และรวมไปถึงอาคารสมัยใหม่(ค.ศ.1950-1975) ก็เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์เมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งคุณอิ่ม Creative Economy Agency กล่าวเสริมว่าการพัฒนาย่านนั้น ควรมองในมุมของการออกแบบเชิงสร้างสรรค์และกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจในระดับชุมชนร่วมกัน ซึ่ง “Active citizen” ที่สำคัญของย่านคือทั้ง ผู้อยู่อาศัย และผู้ประกอบในชุมชน คุณฟ้า Thunder Bird Hostel Chiang Mai กล่าวถึงการทำธุรกิจโฮสเทลในพื้นที่ชุมชนล่ามช้างถึงความกลมเกลียวของชุมชน และกลไลของคนในชุมชนที่ต่างสอดส่องดูแลซึ่งกันและกัน ตามที่ป้าจิ๋ม (เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่) ได้อธิบายถึงกลไลของย่านช้างม่อย ที่จะมีคนในย่านเชื่อมโยงกันเพื่อขับเคลื่อนเพื่อสอดส่องดูแลการออกแบบอาคารและกิจกรรมภายในย่าน ผอ.น้อย (สำนักการช่าง) ได้พูดถึงโครงการที่เน้นการออกแบบร่วมกัน (Co-create)โดยมีใจบ้านสตูดิโอเป็นเครือข่ายสำคัญในการเชื่อมโยงผู้คน เทศบาล และภาคการศึกษา ทำให้เกิดผลงานการออกแบบที่ทำให้เทศบาลเมืองเชียงใหม่มีหน้าที่ไม่ใช่ผู้วางแผนแค่นั้น แต่เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายชุมชน อ.ปรานอมเสริมถึงการมองเมืองในรูปแบบการออกแบบอย่างผสมผสานหรือ Mixed-use design ที่ทำให้ย่านมีความลื่นไหลมากกว่าผังสีควบคุมอาคาร และการออกแบบอย่าง in-fill development หรือการพัฒนาเมืองที่เสริมประกอบเพื่อให้ทัศนียภาพเมืองนั้นส่งเสริมไปกับภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน ในส่วนสุดท้ายของการเสวนา ผมอยากจะให้ทุกคนในเมืองเชียงใหม่ เข้าใจว่าย่านคือชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ ที่ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือร้าน ก็ต่างเป็นกลไลสำคัญในเมือง ซึ่งเชียงใหม่มีศักยภาพของผู้คนและชุมชน โดยกลไลของแต่ละย่านนั้น ควรจะเกิดจากการเข้าใจถึงวัฒนธรรมของคนในย่าน ซึ่งจะนำไปสู่ย่านที่ผสมผสาน และผังย่านที่ถูกออกแบบร่วมกัน จะเป็นทั้งเครื่องมือที่ทั้งย่านต่างยอมรับและเข้าใจ จิรันธนิน กิติกา 7 สิงหาคม 2563 หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ Chiang Mai Street Culture ーーーーーーーーーー

Comments


bottom of page